27 ตุลาคม 2550

กิจกรรม KM For Fun...D

กิจกรรมนี้ถูกจัดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อวันที่ 27 - 28 กันยายน 2550
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อนำเงินรายได้จากการจัดกิจกรรมของโครงการมาจัดตั้ง กองทุน KM Fun…D Learning เพื่อใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา KM ที่ร่วมกันจัดทุกชั้นปี หลักสูตรการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
2. เพื่อเป็นการบูรณาการความรู้โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้หลายรูปแบบสำหรับการดำเนินกิจกรรม
3. เพื่อนำความรู้จากการศึกษาการจัดการความรู้มาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและช่วยในด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
วิธีการดำเนินการ
1. ระดมสมองเพื่อสกัดความรู้ในการค้นหาศักยภาพความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อบริหารและจัดการมอบหมายภาระงาน
2. จัดทำโครงการเพื่อกำหนดรายละเอียดการดำเนินงานระยะเวลา งบประมาณ
3. จัดทำโครงร่างการบริหารจัดการ (Organization Chart) เพื่อให้ผู้ร่วมทุกคนไปบริหารจัดการ
4. สรุปผลการดำเนินงานและซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติจริง (BAR) ตามโครงร่าง
5. ดำเนินการในระยะเวลาปฏิบัติจริง
6. ประเมินผลการดำเนินงาน
7. สรุปผลการดำเนินงาน นำเสนอ ดร.อมรวรรณ ลิ้มสมมุติ
กิจกรรม
1. รับมือโลกร้อนแล้วย้อนดูสุขภาพ
1.1 จากสภาวะโลกร้อน (Green House Effect) มาช่วยกันประหยัดพลังงานลดการใช้ไฟฟ้าด้วยการสร้างความสุขกายสุขใจ ด้วยการแต่งกายด้วยผ้าฝ้ายของไทย ร่วมมือร่วมใจช่วยกันรณรงค์แต่งกายด้วยสินค้าของไทย
- การแสดงสื่อผสมมัลติมีเดีย การจัดการความรู้นำสู่วิวัฒนาการสู่กระบวนการผลิตผ้าฝ้าย ถักทอจนเป็นเครื่องแต่งกาย แบบสบาย ๆ
- การแสดงแฟชั่นโชว์ ชุดผ้าฝ้ายในสไตล์ต่าง ๆ
- การจัดจำหน่ายเสื้อผ้าฝ้ายราคาถูก
1.2 การจัดการความรู้ด้านสุขภาพ
ให้ความรู้ในด้านสุขภาพกายและจิต บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารสารประกอบของอาหารแต่ละชนิด รวมทั้งจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ
2. กิจกรรมบนเวทีด้านการตอบปัญหาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ที่มีอยู่รอบตัวของพื้นที่ในบริเวณจัดงาน
3. SDU Business Alliance Directory เพื่อทำฐานข้อมูลธุรกิจของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนสวนดุสิต
สรุปรายได้จากการจัดกิจกรรม
รายได้ทั้งสิ้น 20,402 บาท
-นำไปบริจาคให้กับเด็กพิการซ้ำซ้อน(บ้านเฟื่องฟ้า) 4,500 บาท
-ซื้อสิ่งของเพื่อนำไปบริจาค จำนวน 10,000 บาท
-นำเข้ากองทุน KM Fun...D Learning 5,902 บาท

กิจกรรมทำเพื่อสังคม

อ่านหนังสือเสียงเพื่อคนตาบอด (มอบให้กับห้องสมุดของคนตาบอด)
จัดทำโดย
นางสาวทัศนาวรรณ ชมภู่
นางสาวอรพิชญา ชินศูนย์
นางสาวสายใจ อยู่แท้กูล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นตอบแทนสังคม
2. ให้ผู้พิการทางสายตาได้มีโอกาสรู้หนังสือ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ค้นหาสถานที่ที่เกี่ยวกับคนตาบอดที่มีความต้องการหนังสือเสียง (ค้นหาจาก Google)
2. ติดต่อประสานงานเกี่ยวกับหนังสือที่จะอ่าน และที่ทางสมาคมคนตาบอดต้องการ
3. ค้นหาหนังสือจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (รวมเรื่องสั้น)
4. ติดต่อประสานงานผู้ที่ต้องการอ่านหนังสือเสียง
5. ประสานงานเรื่องห้องบันทึกเสียง (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
6. เริ่มทำการอ่านหนังสือเพื่อบันทึกเสียง
7. ทำการตัดต่อ แปลง file ให้เป็น file ที่สามารถใช้กับเครื่องทั่วไปได้
8. เตรียมสิ่งของที่จะนำไปบริจาค เช่น แผ่น CD เปล่า เงินสด และ CD หนังสือเสียง
9. เดินทางไปมอบสิ่งของให้กับสมาคมคนตาบอด
สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1. ความสบายใจ
2. ความสนุกสนาน
3. การทำงานร่วมกัน
4. การยับยั้ง หรือ การควบคุมอารมณ์

26 ตุลาคม 2550

กิจกรรมค้นคว้าหางานวิจัย

งานวิจัยภาษาไทย
เรื่อง การจัดการความรู้อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

จัดทำโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พูลสุข สังข์รุ่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาดา นิภานันท์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส นามวงศ์
อาจารย์ณัฏฐดา ศรีมุข
อาจารย์โสภา อิ่มวิทยา
อาจารย์พีระพงศ์ ภักคีรี
อาจารย์นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร
อาจารย์กล้าหาญ ณ น่าน

ปีที่จัดทำ
2549

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
2.เพื่อเปรียบเทียบการจัดการความรู้ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และเทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


เหตุผลที่เลือก
•ทราบถึงแนวทางในการพัฒนาการจัดการความรู้ของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
•พัฒนาการจัดการความรู้ของตนเอง
•แนวทางพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

กรอบแนวคิดการวิจัย
ตัวแปรอิสระ
-
ปัจจัยส่วนบุคคล
- ระดับการศึกษา
- อายุ
- คณะที่สังกัด
- ประสบการณ์ทำงานปัจจัยสนับสนุนการจัดการความรู้
- ทักษะการเรียนรู้
- แหล่งการเรียนรู้
- เทคโนโลยี
ตัวแปรตาม
-
การจัดการความรู้
- การสร้างความรู้
- การจัดระบบความรู้
- การกระจายความรู้


ผลการวิจัย
•อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท อายุระหว่าง 20-40 ปี สังกัดคณะวิทยาการจัดการ มีตำแหน่งอาจารย์มากที่สุด และมีประสบการณ์การทำงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 1-6 ปี
ผลวิจัยด้านปัจจัยสนับสนุนการจัดการความรู้
•อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีใช้ปัจจัยสนับสนุนการจัดการความรู้โดยรวมในระดับมาก ทักษะการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และเทคโนโลยี

- อาจารย์ใช้ทักษะการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้ซักถาม
ให้แสดงความคิดเห็น
- แหล่งการเรียนรู้ การค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง จากตำราและสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สถาบันการศึกษา การฝึกอบรม การพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นทางการ
ศึกษาดูงาน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญ
- เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์
ผลวิจัยด้านการจัดการความรู้ของอาจารย์
- การจัดระบบความรู้ มีการจัดการความรู้โดยวิธีการจัดระบบความรู้จำแนกตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ มีการกลั่นกรองและจัดลำดับข้อมูล มีการจัดเก็บความรู้ที่ได้มาเป็นระบบ
มีการจัดทำคู่มือประกอบการสอน จัดเก็บเอกสารที่ได้รับจากการอบรม ทำบันทึกสรุป
- การสร้างความรู้ มีวิธีการสร้างความรู้คือ เอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ประสบการณ์ตรงของตนเอง ศึกษาจากผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหรือใช้ข้อมูล ทบทวนและ
ประยุกต์การปฏิบัติงานที่ผ่านมา ศึกษาจาเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นทางการ เช่นการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เข้าร่วมกลุ่มกับผู้ที่มีความสนใจร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยน
ความรู้ ศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญภายใน และภายนอกองค์กร

- การกระจายความรู้ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีการกระจายความรู้ในระดับปานกลาง การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน การปฏิบัติตนเป็นต้นแบบ มีการส่ง
ข้อมูลหรือความรู้ให้ผู้รับเฉพาะผู้รับที่ต้องการความรู้นั้นๆ มีการเขียนเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ที่เต็มใจจะแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น มีการกระจายความรู้โดยผ่านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ มีการทำสำเนาความรู้




งานวิจัยภาษาอังกฤษ
Product and Process Knowledge in the Performance – Oriented Knowledge Management Approach

ผู้วิจัย
•SUK GWON CHANG :
ศาสตราจารย์ ดร.มหาวิทยาลัย ฮานยาง ด้าน MIS AND TELECOMMUNICATIONS
•JAE – HYEON AHN
รองศาสตราจารย์ ดร.ประจำสถาบัน Korea ADVANCE INSTITUTE OF SCIEMCE AND TECHNOLOGY

ปี่ที่เผยแพร่
2005

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจว่า ความรู้นั้นมีส่วนช่วยพัฒนาผลการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้อย่างไร และมากน้อยเพียงใด
2. เพื่อหาแนวทางหรือหลักการในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
เหตุผลที่เลือก
ศึกษาเกี่ยวกับ Knowledge Contribution ความรู้นั้นเป็นส่วนที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดการธุรกิจความรู้กับผลการปฏิบัติงาน โดยอาศัยแนวคิดทางด้านนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมทางกระบวนการ

•ความรู้มีส่วนช่วยและช่วยส่งเสริมผลการปฏิบัติงาน ถ้าปราศจากความรู้จะกลายเป็นเรื่องที่ยากที่จะหาหลักการ หรือแนวทางในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งจะทำให้องค์หรือธุรกิจนั้นปราศจาก การสนับสนุน
•ผลการปฏิบัติงานนั้นจะต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากความรู้ ที่จะต้องมีกิจกรรมในการจัดการความรู้เพื่อช่วยส่งเสริมที่บริษัท Cobb-Douglas


รายละเอียดของงานวิจัยมีดังนี้
Product and Process Knowledge in the Performance – Oriented Knowledge Management Approach
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจว่า ความรู้นั้นมีส่วนช่วยพัฒนาผลการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้อย่างไร และมากน้อยเพียงใด
2. เพื่อหาแนวทางหรือหลักการในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
เทคนิคการวิจัย
ผู้วิจัยใช้ บริษัท Cobb – Douglas (เป็นบริษัทผู้ผลิต) เป็นตัวแบบในการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้กับผลการปฏิบัติงาน จากนั้นใช้ Regression Analysis เพื่อหาความยืดหยุ่นระหว่าง ความรู้กับผลการปฏิบัติงาน สุดท้ายใช้การทดลองเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการดังกล่าว
ข้อค้นพบ
การทำงานที่เน้นผลงานจะมีกระบวนการจัดการความรู้เป็นตัวขับเคลื่อน จากผลการวิเคราะห์พบว่าในการผลิตนั้นจะมีการใช้ความรู้ในระดับที่มาก และความรู้แต่ละประเภทที่นำมาใช้ยังมีความยืดหยุ่นต่อผลการปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน ในที่นี้ คือ ลักษณะที่ว่าเป็นแบบ Product Knowledge และ Process Knowledge ที่ซึ่งมีส่วนและมีความสำคัญอย่างมากต่อการบริหารจัดการ
ข้อจำกัดของงานวิจัย
ควรที่จะมีการศึกษาวิจัยในเชิงประจักษ์ทางด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อที่จะช่วยให้สามารถที่จะสร้างตัวแบบที่มีมาตรฐานออกมา

ภายใต้สภาวการณ์และสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูงในโลกปัจจุบันอะไรจะเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้บริษัทสามารถที่จะรักษาผลการปฏิบัติงานนั้น ดูเหมือนว่าขึ้นอยู่กับความสามารถของธุรกิจ ที่จะเรียนรู้และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อนำเสนอได้อยู่ตลอดเวลา มากกว่าที่จะเป็นขนาดของธุรกิจ โครงสร้างองค์กร และแหล่งทรัพยากร หรือวัตถุดิบของธุรกิจ ซึ่งส่วนนี้จะช่วยให้ก่อให้เกิด สมรรถนะหลัก (Core Competency) แก่ธุรกิจ มีนักวิจัยหลายคนพยายามที่จะศึกษา เพื่อค้นหา คุณลักษณะของความสามารถ และแหล่งที่ก่อให้เกิดความสามารถ ที่ซึ่ง Hunt and Morgan (1995) แสดงทัศนะว่า ธุรกิจที่มีการดำเนินกิจการแบบ Market Orientation นั้น นับได้ว่าเป็น สมรรถนะหลักของธุรกิจนั้นๆ แต่ในทางตรงกันข้าม Barney and Wright (1998) แสดงทัศนะในทางตรงกันข้ามกัน กล่าวว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยสร้างเสริม และก่อให้เกิดขีดความสามารถของธุรกิจที่สูงขึ้น และกลายเป็นสมรรถนะหลักของธุรกิจต่อไปในขณะที่ปัจจุบัน มีนักวิจัยจำนวนมากที่ทำการศึกษา และค้นคว้า ในแนวความคิดที่ว่า ความรู้เป็นสินทรัพย์ (Knowledge Assets) ทั้งในระดับบุคคล และระดับองค์กร มองว่า เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดและเป็นตัวที่สำคัญของคุณลักษณะ สมรรถนะหลักของธุรกิจ เพื่อที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถที่จะเผชิญกับสภาพการตลาดที่มีการแข่งขันที่สูงได้
ถึงแม้ว่าในมุมมองของผู้ศึกษาต่างอาจจะมีมุมมอง หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ ขีดความสามารถของธุรกิจ แต่ในความแตกต่างก็มีสิ่งหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกัน ที่ว่าด้วยคุณลักษณะของความรู้ที่จะต้องใช้เป็นตัวขับเคลื่อน และเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ธุรกิจจะต้องมี กล่าวคือ ทรัพยากรมนุษย์ ต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ ซึ่ง Grant and Spender (1996) ได้เสนอแนะว่า ความอยู่รอดของธุรกิจ และสมรรถนะหลัก หรือ ขีดความสามารถของธุรกิจนั้น เกิดมาจาก การสร้าง,การกระจาย และการนำความรู้ไปใช้ ในแนวทางที่ถูกวิธี หรือแนะทางตามวัตถุประสงค์นั่นเอง
ดังนั้นเราเองก็เข้าใจว่า ปัจจุบันความรู้นั้นเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีความสำคัญมากที่สุด และจะต้องมีการจัดการความรู้อย่างถูกวิธี แต่ในทางปฏิบัติการจัดการความรู้เป็นสิ่งที่มีความยุ่งยากและผู้ปฏิบัติก็ประสบกับปัญหาของการจัดการความรู้ ซึ่งปัญหาหลักก็คือ ความรู้เป็นเรื่องที่ยากต่อการวัดและการตีออกมาเป็นมูลค่า ถ้าพิจารณาว่าความรู้คือสินทรัพย์
ดังนั้นผู้วิจัยจึงพยายามที่จะศึกษาในด้าน ความรู้มีส่วนช่วยอย่างไร (Knowledge Contribution) โดยผู้วิจัยมีความเชื่อที่ว่า ความรู้นั้นเป็นส่วนที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดการธุรกิจ จากเอกสารงานวิจัยนี้จะทำการศึกษาถึง ความรู้กับผลการปฏิบัติงาน โดยอาศัยแนวคิดทางด้านนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมทางกระบวนการ (Process innovation) ความน่าเชื่อถือที่เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์นั้นใช้การทดลอง ห้องทดลองเพื่อควบคุมและทดสอบ
กรอบแนวความคิด
ตามแนวคิดของ Alavi and Leidner 2001 กล่าวว่า ความรู้สามารถที่จะพิจารณาได้หลายๆ ทัศนะดังนี้
1. A State of mind
2. An Object
3. A Process
4. A Condition of hawing access to information
5. A Capability
ดังนั้นความรู้จึงขึ้นอยู่กับว่าจะมองจากในแง่มุมมองใด และมีความเข้าใจความรู้นั้นอย่างไร ดังเช่น ถ้ามองว่า ความรู้นั้นเป็น an object ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า เราจะบริหารองค์ความรู้ที่มีอยู่นั้นอย่างไรเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
ในกรอบแนวความคิด ของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ พิจารณาในด้านของ
1. Product Knowledge ที่ซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆ และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
a. Technology related Knowledge
b. Operation related Knowledge
c. Market related Knowledge
2. Process Knowledge เกี่ยวข้องกับ คุณค่าและมูลค่าของการดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนของ สายห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ที่จะนำไปเพื่อเปรียบเทียบกับ Product Knowledge
โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. Leadership Skill
2. Problem Solving Skill
3. Communication Skill
4. Learning Skill
ดังนั้นเราจะพบว่า Figure 1 เป็นกรอบแนวความคิดที่ว่าด้วย Product Knowledge กับ Process Knowledge นั้นมีผลและมีส่วนช่วยเหลืออย่างไร ต่อผลการปฏิบัติงาน โดยผ่านกระบวนการทางด้าน นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะทั้งสองส่วนนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการทางด้านนวัตกรรมกระบวนการทางด้าน นวัตกรรมที่ท้ายสุดจะช่วยสร้างคุณค่า และมูลค่าแก่ธุรกิจ โดยการศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในบริษัท Cobb – Douglas ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต ที่ใช้ในการศึกษาในขณะที่ Figure 2 ได้แบ่งองค์ประกอบของขอบเขตการศึกษา ของคำว่าความรู้เป็น 7 องค์ประกอบ โดยมีสมมติฐานคือ
1. ปริมาณความรู้ที่ใช้ (คือ ปัจจัยนำเข้า (Input)) ที่ใช้ในเพื่อ Product และ Process นั้นจะมีปริมาณที่เท่ากัน ณ ช่วงเวลาที่เท่ากัน
2. ความรู้ในที่นี้คือ Knowledge Input คือ X ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
องค์ประกอบความรู้คือ
K คือ ความรู้ที่ถูกนำมาใช้
Q คือ ผลลัพธ์ที่ได้
Bi คือ ค่า Coefficient (ต้องมากกว่า หรือ เท่ากับ 0)
P มีค่า เป็นบวก หรือเท่ากับ 1
คือ ปริมาณของความรู้ ที่ใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ (Output) จะได้สมการ
Q = K1 B1 K2B2…………………..K7B7
การทดลองในห้องทดลองจะเป็นการทดลองในแบบสภาพแวดล้อม แบบมีการควบคุม สาเหตุที่ต้องทำการทดลองในห้องทดลอง
1. เพื่อที่จะหาความเป็นไปได้ของการมีส่วนร่วมของความรู้ที่ถือว่าเป็น Input ของเรา ในขณะที่ตัวแปรอื่นๆ ของเราจะถูกควบคุมทั้งหมด
2. เพื่อที่จะช่วยให้เห็นภาพ หรือ ผลลัพธ์ที่ชัดเจนของความรู้ ในสภาพแวดล้อมแบบปิด
ผลการวิเคราะห์
จากการศึกษาวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่า
1. ความรู้มีส่วนช่วย และส่งเสริมผลการปฏิบัติงานโดยวิเคราะห์จาก Regression Analysis ทีสังเกตและเห็นได้วา Process Knowledge เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญ แต่ Product Knowledge ไม่มีผล และจากการทดลองในห้องทดลอง ผลที่ได้จากการทดลองนั้นมีผลที่เหมือนกน
2. ระดับของ Knowledge Input ประมาณการเป็นระดับค่าเฉลี่ย โดยมีการประมาณค่าในระดับสูงสุด คือ ระดับ 8 แต่ผลของ Regression Analysis ไม่ได้แสดงผลออกมาอย่างมีนัยสำคัญต่อผลการปฏิบัติงานจะเป็นทีม เนื่องจากว่าเวลาทดลอง และเก็บข้อมูลอาจจะสั้นเกินไป หรือ ระดับของ Knowledge Input ที่ใส่ในระดับสูงสุดนั้นมากเกินไป แต่อย่างไรก็ตามก็อาจจะเป็นข้อคิดได้ว่าเราควรจะทำอย่างไรที่จะนำความรู้ระดับบุคคลนั้นมาใช้ร่วมกันกับการทำงานเป็นทีม
3. ระดับความรู้ที่ใช้เพื่อการทำงานเป็นทีม ดู Scale ใน Figure A1 จะพบว่าเวลาที่ใช้ทดลอง คือ 3 ชั่วโมง เท่ากันทุกทีม ระดับความรู้ที่นำมาใช้อยู่ในระดับที่เท่ากัน ปริมาณความรู้ที่จะถูกนำมาใช้
สรุปผลการวิจัย
ข้อค้นพบที่ชัดเจน คือ ความรู้มีส่วนช่วยและช่วยส่งเสริมผลการปฏิบัติงานถ้าปราศจากความรู้นั้นจะกลายเป็นเรื่องยากที่จะหาหลักการหรือแนวทางในการดำเนินกิจกรรมทางความรู้ ซึ่งจะทำให้องค์กร หรือธุรกิจนั้นปราศจาก การสนับสนุน จากข้อค้นพบนั้นช่วยให้บรรลุตามความต้องการ และวัตถุประสงค์ของคณะผู้วิจัยที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าผลการปฏิบัติงานนั้นจะต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากความรู้ ที่จะต้องมีกิจกรรมในการจัดการความรู้เพื่อช่วยส่งเสริมที่บริษัท Cobb-Douglas เป็นกรณีศึกษา และผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นภาพที่ชัดเจนของความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และผลการปฏิบัติงาน
ผู้วิจัย
Suk Gwon Chang and Suk Gwon Chang
Suk Gwon Chang
ศาสตราจารย์ ดร.มหาวิทยาลัย ฮานยาง ด้าน MIS AND TELECOMMUNICATIONS
Suk Gwon Chang
รองศาสตราจารย์ ดร.ประจำสถาบัน Korea Advanced Institute of Science and Technology (KAIST)
ซึ่งทั้ง 2 ท่านมีความสนใจที่จะศึกษาในแนวทางของการนำความรู้ไปใช้,การหาตัวแบบของระบบการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ และการหาตัวแบบของเครื่องมือเพื่อชี้วัดหรือวัดผลของกระบวนการจัดการความรู้ ในอุตสาหกรรม กลยุทธ์การนำความรู้ไปใช้เพื่อการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

กิจกรรม KM For Fun...D(ต่อ)

ความประทับใจในการจัดโครงการ KM For Fun..D
การจัดโครงการครั้งนี้ทำให้พวกเรานักศึกษา การจัดการความรู้ รุ่น 1 "KM 1" มีความรักและเข้าใจกันมากขึ้น พวกเราร่วมแรงร่วมใจ ทุ่มเทเต็มกำลังในการจัดโครงการเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด เราใช้เวลากินข้าวด้วยกัน ทำงานด้วยกัน พวกเราเหนื่อยแต่ในความเหนื่อยนั้น เรามีความสุขมากกับการมีเพื่อนที่ดีทำให้มิตรภาพของพวกเราแนบแน่นยิ่งขี้น และยังเข้าใจความหมายของการทำงานร่วมกันเป็นทีมว่าเมื่อทุกคนร่วมแรงร่วมใจ ผลที่ตามมาคือมิตรภาพที่ยั่งยืนที่เงินไม่สามารถซื้อได้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้พวกเราทุกคนร่วมกันรับผิดชอบในหลายๆ หน้าที่เพราะเรามีร้านขายของเพื่อนำเงินที่ได้ไปร่วมบริจาคให้กับเด็กพิการซ้ำซ้อน กิจกรรมร้านค้าที่พวกเรามีก็คือ ขายข้าวไข่เจียว ขายเสื้อผ้าฝ้าย ขายขนมไทย ขายตุ๊กตา และร้านทอดมัน เราทุกๆ คน หมุนเวียนหน้าที่กัน ทำให้งานในวันนั้นมีความสนุกมีทั้งเหงื่อและเสียงหัวเราะ

ท้ายสุดนี้ ต้องขอขอบคุณ ผู้ให้ความอนุเคราะห์ทุกๆ ท่านผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมงานของพวกเรา ผู้ที่ซื้อสินค้า และร่วมบริจาคเงิน พวกเรานักศึกษา การจัดการความรู้ รุ่น 1 ได้นำเงินที่ได้รับไปมอบให้กับ บ้านเด็กพิการซ้ำซ้อนเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 20 กันยายน 2550 ขอให้ทุกๆ ท่านประสบแต่ความสุขความเจริญ มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
ขอกราบขอบพระคุณ

กิจกรรมศึกษาดูงาน NOK

ศึกษาดูงานบริษัท NOK Precision Component(Thailand) Ltd.
บริษัท NOK เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ของคอมพิวเตอร์


ทางบริษัท ได้ให้พวกเรานักศึกษาโครงการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความรู้ รุ่นที่ 1 ได้เขาไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากบริษัท เราได้รับความอนุเคราะห์ให้ฟังการบรรยายจากผู้จัดการ และทีมงาน ด้วยความน่ารักและอบอุ่น ความเป็นกันเองของทีมงาน และขอชมบริษัทว่าเป็นบริษัทที่สะอาดมาก


ประวัติของบริษัท NOK
บริษัทเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544
พื้นที่ 46,400 ตร.ม. (29 ไร่)
จำนวนพนักงาน 750 คน
ผลิตภัณฑ์หลัก Top Cover, Ramp, Crash Stop, Latch
วิสัยทัศน์
ก้าวไปสู่การเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกในธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคที่มีความเที่ยงตรงสูง
นโยบายบริหาร
1. ดำเนินธุรกิจในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนที่ดีของลูกค้า
2. สร้างสรรค์และควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
3. ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีจริยธรรม คุณธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม
คำขวัญประจำบริษัท
วินัย คือปัจจัยแห่งคุณภาพ
วัฒนธรรมองค์กร
1. กล่าวคำทักทาย แต่งกายเรียบร้อย และตรงต่อเวลา
2. ความปลอดภัยต้องมาก่อน
3. รักษาความสะอาด และพร้อมใช้งานด้วยหลักการ 5ส
4. ใฝ่ใจในการเรียนรู้
5. เปิดใจกว้าง มองโลกในแง่ดี และตอบสนองอย่างว่องไว
6. ทำงานเป็นทีม ด้วยการประสานใจเป็นหนึ่งเดียว
7. ข่าวสารข้อมูลต้องแบ่งปันและทันสมัย
8. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
9. แก้ปัญหาโดยค้าหาความจริงจากสถานที่นั้น
10. คิดสร้างสรรค์ ขยันพัฒนา ก้าวหน้าในทางเดียวกัน
สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน
ได้เห็นการใช้การจัดการความรู้ที่ชัดเจน ทางบริษัท NOK ใช้ระบบให้ทำงาน แทนคนซึ่งสามารถช่วยในเรื่องของเวลาได้เยอะ บริษัทให้ความสำคัญกับพนักงานมากมีการจัดงานวันเกิด มีช่วงเวลาให้พนักงานได้พักผ่อนร่วมกัน มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้พนักงาน และที่สำคัญยังสนับสนุนให้พนักงานได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการช่วยกันดูแลบริษัทให้น่าอยู่ หลายๆอย่างในบริษัทหากหลายๆ องค์กรนำมาปฏิบัติจะเป็นผลดีให้กับองค์กร ภายในบริษัท NOK ได้นำแนวคิดง่ายๆ จากพนักงานในบริษัท มาปรับใช้เช่น การติดสัญลักษณ์รูปสัตว์ต่างๆ ที่บริเวณหลอดไฟ เช่นแถวซ้าย ใช้สัญลักษณ์รูปผีเสื้อ ซึ่งเมื่อเวลาที่มีคนมาเปิดก็สามารถเลือกเปิดได้อย่างถูกต้องทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่าย ด้วย การให้พนักงานเขียนใบงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง เป็นการปลูกฝังให้พนักงานรู้จักบันทึกแล้วทางบริษัทก็เก็บเอาไว้เป็นคลังข้อมูลของบริษัท นับว่าเป็นบริษัทที่มีการจัดการที่ง่ายๆ แต่ประสบความสำเร็จ
ขอบขอบคุณ
ผู้บริหารและพนักงาน บริษัท เอ็นโอเค พรีซิชั่น คอมโพเนนท์ (ประเทศไทย) จำกัด
อาจารย์ ดร.อมรวรรณ ลิ้มสมมติ
ที่ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปศึกษาดูงาน การใช้เครื่องมือในการจัดการความรู้ที่ชัดเจน




การบริการที่ประทับใจ

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2550 ได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวกับครอบครัว ณ เขาค้อ เราเริ่มเดินทางตอน 04.00 น. ออกจากจังหวัดนนทบุรี พาหนะที่ใช้ในการเดินทางเป็นรถกะบะ toyota vigo รถคันนี้อายุประมาณ 2 ปีกว่าแล้วค่ะ เราเดินทางกันทั้งหมด 6 คน มีผู้ใหญ่ 4 คน เด็ก 2 คน ระหว่างทางที่ขัยรถไปนั้น เมื่อถึง สี่แยกชัยบาดาล ปรากฎว่ามีสัญญาณ ไฟเตือนปรากฎที่หน้าปัดเป็นรูปแบตเตอรี่ เราจึงตกลงกันว่าจะขับต่อไปอีกซักระยะ ปรากฎว่าสัญญาณไฟก็ติดๆ ดับๆ เราจึงวนรถกลับไปที่ศูนย์โตโยต้า ชัยบาดาลเวลาตอนนั้นประมาณ 7.40 ศูนย์ยังไม่เปิด แต่ได้มีพนักงานบางคนมาแล้ว เขาก็เข้ามาถามว่ามีอะไรหรือเปล่า เราก็แจ้งอาการไปเขาบอกว่า แบตเตอรี่ไม่ชาร์จ แล้วพนักงานคนนั้นก็บอกกับพวกเราว่า จะต้องวนรถกลับไป 100 กว่ากิโลเมตร เพื่อไปเข้าศูนย์โตโยต้าที่จังหวัดสระบุรี เราจึงวนรถกลับเราถึงศูนย์โตโยต้า จังหวัดสระบุรีประมาณ 10.30 น. ทันทีที่เราเลี้ยวรถเข้าไปที่ศูนย์เราได้รับการต้อนรับจาก รปภ.รถเป็นอะไรครับ เชิญติดต่อผู้จัดการได้เลย วันนั้นผู้จัดการ(ไม่แน่ใจนะคะว่าฝ่ายไหน) แต่ผู้จัดการเป็นผู้ชายอายุประมาณ 40 กว่าหรืออาจมากกว่านั้นลักษณะสูงผิวคล้ำ สวมเสื้อยืดคอปกสีขาว ยืนรอรับรถลูกค้าที่มารับบริการ ทางเราได้แจ้งอาการกับผู้จัดการว่ารถมีอาการเป็นอย่างไร และเราก็บอกอีกว่า เรากำลังจะไปเที่ยวเขาค้อ มากัน 6 ผู้จัดการสังเกตุว่าที่นั่งในรถนั้น เป็นผู้หญิง กับเด็ก เขาได้เรียกช่างให้มาดูอาการ พอเราได้คุยกับช่างเราก็บอกว่าเรากำลังจะไปเที่ยวกันมีผู้หญิง กับเด็กนะคะ ช่างตอบว่าต้องขอเช็คอาการก่อน ถ้าเปลี่ยนได้ก็จะรีบเปลี่ยนให้เลย เราก็ทำการติดต่อเรื่องเอกสารให้เรียบร้อยปรากฎว่ารถยังอยู่ในประกัน ช่างคนนั้น(มิได้ถามชื่อมา) ทำการตรวจเช็คอาการและเปลี่ยนอะไหล่ให้โดยเร็ว รถเสร็จเวลาประมาณ 12.20 น. ซึ่งในวันนั้นมีลูกค้าเข้ารับบริการเป็นจำนวนมาก เมื่อรถเสร็จผู้จัดการ(คนเดิม)ได้เดินมาที่รถพร้อมแนะนำเกี่ยวกับรถอีกหลายอย่าง และก็แนะนำเส้นทางพร้อมทั้งประมาณเวลาที่เราจะเดินทางไปถึงเข้าค้อให้
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทางครอบครัวของเราประทับใจกับการบริการของศูนย์โตโยต้าสระบุรีมาก เพราะเขาเต็มใจบริการจริงๆ ค่ะ บริการด้วยความรวดเร็ว ให้การต้อนรับพร้อมให้คำแนะนำ ขอยกย่องและชมเชยผู้จัดการที่ออกมายืนต้อนรับลูกค้าท่ามกลางแสงแดดที่ร้อน เห็นถึงความตั้งใจจริง พร้อมทั้งอัธยาศัยของพนักงานหลายๆท่านน่ารักมากๆ ค่ะ ทั้งนี้อุ๋ยก็เลยขอเล่าประสบการณ์ที่ประทับใจมากกับการบริการที่ได้รับ และขอขอบคุณทางโตโยต้า สระบุรีที่ช่วยให้พวกเราไปเที่ยวกันอย่างสบายใจและปลอดภัย เราเดินทางถึงเข้าค้ออย่างปลอดภัยดีค่ะ ก็เลยมีรูปบรรยากาศ ตอนเช้าของบริเวณพระตำหนักเขาค้อมาฝาก นะคะ