25 เมษายน 2555

ผลการเข้าร่วมการอบรม "การเจรจาต่อรองเพื่อความสำเร็จ"

19  เมษายน 2555  เวลา 13.30 – 16.30 น. ห้อง 11405  
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วิทยากร ดร.สุรชัย  โฆษิตบวรชัย

จุดประสงค์ของการไปอบรม/สัมมนา
          1. เพื่อให้ทราบถึงการการเจรจาต่อรองที่มีประสิทธิภาพ
          2. เพื่อให้ทราบถึงเทคนิค หรือแนวทาง ในการเจรจาต่อรองที่ช่วยให้ประสมผลสำเร็จ
          3. การนำเทคนิค มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานของตนเอง

ผลที่ได้รับจากการไปอบรม/สัมมนา
          1.  ทราบถึงหลักในการเจรจา หากเป็นตัวเลขต้องเจรจาในลักษณะตัวเลขเป็นรวมๆ  และวิเคราะห์ถึงการเจรจาและเลือกใช้ระหว่างไม้อ่อนหรือไม้แข็ง และต้องมีความกล้าเสี่ยง
          2.  ความสำคัญของการต่อรอง เพื่อมุ่งเชิงรุกให้เพิ่มมากขึ้นในเชิงธุรกิจ มีความเป็นสากลมากขึ้น มีการแข่งขันกันมากขึ้น และมีการขยายตัวมากขึ้น
          3.  การจัดการเมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น ทำได้โดยเลื่อนไปก่อน โน้มน้าว เจรจาต่อรอง การบังคับ การร่วมกันแก้ไขปัญหา การชวนทะเลาะ การยอมทุกย่าง
          4.  การเจรจาต่อรองเป็นกระบวนการการสื่อสาร การสร้างความพอใจบนความต้องการหรือความคิดที่แตกต่างกัน การโน้มน้าวอีกฝ่ายให้มีความคิดเห็นคล้อยตามกัน
          5.  วัตถุประสงค์ของการเจรจาต่อรอง เพื่อปรับการรับรู้ของคู่เจรจาให้เข้ากันให้ได้ และทั้งสองฝ่ายได้รับสิ่งที่ดีที่สุด และมีเกิดความพึงพอใจ การสร้างมิตรภาพระหว่างคู่เจรจา สร้างความรู้สึกที่ดีต่อคู่เจรจา
          6.  คุณสมบัติของนักเจรจาต่อรอง ต้องมีทักษะ รู้จักวางแผน มีการเตรียมการเจรจา มีวิสัยทัศน์ มีการทำงานเป็นทีม ต้องรอบรู้ ทักษะเรื่องงาน เรื่องการต่อรอง เรื่องคน รู้จักควบคุมอารมณ์ มีความอดทน มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี         มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม
          7.  การเตรียมการก่อนเจรจา การเตรียมตัว เตรียมความพร้อม วางแผนอย่างรอบคอบ และกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสม
          8.  ยุทธวิธีในการต่อรอง คำนึงถึงความสัมพันธ์ รู้จักเบี่ยงเบนเมื่อเกิดความเพลี่ยงพล้ำ การใช้เหตุและผล

ผลงานที่คาดหวังจากการไปอบรม/สัมมนา
          1.  สามารถนำเทคนิควิธีการเจรจาต่อรอง มาปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2.  ลดความรุนแรง ในการเจรจาในการทำงาน

ผลการเข้าร่วมการอบรม “จัดการกับเวลาอย่างไรให้ได้งาน”

19  เมษายน 2555  เวลา 09.0012.00 น. ห้อง 11405  
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วิทยากร ดร.พรเกษม  กันตามระ

จุดประสงค์ของการไปอบรม/สัมมนา
          1. เพื่อให้ทราบถึงการบริหารจัดการ เกี่ยวกับงาน และเวลา
          2. เพื่อให้ทราบถึงเทคนิค หรือแนวทางการบริหารจัดการงาน และเวลา
          3. การนำเทคนิค มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานของตนเอง

ผลที่ได้รับจากการไปอบรม/สัมมนา
          1. ทราบถึงทฤษฏีการบริหารเวลาตามกรอบความคิดของ Stephen Covey  (The 7 Habits of Highly Effectively People) ประกอบไปด้วย
                   1.1  Be Proactive  การทำงานเชิงรุก
                   1.2  Begin with the End in Mind  เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
                   1.3  Put First Things First  ทำตามลำดับความสำคัญ
                   1.4  Think win/win   คิดแบบชนะ/ชนะ
                   1.5  Seek First to Understand, Then to be Understood. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา
                   1.6  Synergize ประสานพลังสร้างสิ่งใหม่
                   1.7  Sharpen the saw ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (เรียนรู้ตลอดเวลา)
          2. การบริหารจัดการเวลา นั้นควรเริ่มจากตัวเองก่อน การปรับความคิด ปรับทัศนคติ ด้านการทำงานเชิงรุก การกำหนดจุดมุ่งหมายในการทำงาน และการจัดลำดับความสำคัญของงาน
          3.  การบริหารเวลา ควรเริ่มต้นจากการ แบ่งงานออกเป็น 4 ชนิด คือ
                   3.1  งานด่วน/งานสำคัญ  ได้แก่ วาระเร่งด่วนขององค์กร, ปัญหาเร่งด่วน, ปัญหาไม่คาดคิด,งานที่มีเส้นตาย และเหตุฉุกเฉิน
                   3.2  งานไม่ด่วน/งานสำคัญ ได้แก่ การป้องกัน, การสร้างสมรรถภาพ, การสร้างความสัมพันธ์, มองหาโอกาสใหม่ๆ, วางแผน, การพักผ่อน
                   3.3  งานด่วน/ไม่สำคัญ ได้แก่ การขัดจังหวะ, โทรศัพท์, จดหมาย, รายงาน, การประชุม, เรื่องด่วนบางอย่าง, กิจกรรมที่ทำให้เราเป็นที่ชื่นชม
                   3.4  งานไม่ด่วน/ไม่สำคัญ ได้แก่ เรื่องจุกจิกจิปาถะ, งานยุ่ง, จดหมาย, การประชุม, โทรศัพท์จากบางคน, สิ่งที่ทำแล้วเสียเวลา หรือสิ่งที่ชอบทำ
          4. เทคนิคการบริหารเวลา
                   4.1  ใช้เวลาให้น้อยลงกับกิจกรรม ในข้อ 3.3 และ 3.4
                   4.2  ไม่ควรเพิกเฉยกับกิจกรรมในข้อ 3.1 แต่กิจกรรมในข้อนี้จะลดน้อยลงหากเราเพิ่มความกระตือรือล้นทำงานแบบเชิงรุก
                   4.3  ให้เวลากับงานในข้อ 3.2 ให้มากขึ้น
                   4.4  รู้จักการปฏิเสธกิจกรรมในข้อ 3.3 และ กิจกรรม 3.4